วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 เวลา 08:00 - 16.30 น.
โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง โดยผู้อำนวยการเบญจรัตน์ ธนเศรษฐ์สาคร รองผู้อำนวยการดนุโชติ ชัยชะนะ พร้อมด้วยคุณครูนิกร ทองทิพย์ เข้าร่วมการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2567 ครั้งที่ 1
โดยคณะวิทยากรและคณะกรรมการการดำเนินงาน จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
1) รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร ตำแหน่ง ที่ปรึกษาของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
3) นางสาววิภา ลัคนาพรวิสิฐ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ
4) นางสาวชริณรษา โชควรรณาอมร ตำแหน่ง นักวิชาการกลุ่มพัฒนาวิชาชีพ
5) นายพิชพร พรประสิทธิ์ ตำแหน่ง นักวิชาการสถาบันคุรุพัฒนา
6) นางสาววิรัลยุพา มงคลทิพย์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไปปฏิบัติการสถาบันคุรุพัฒนา
คณะกรรมการการดำเนินงาน จากสถานทูตฟินแลนด์
1) ผศ.ดร.ทวีศิลป์ กุลนภาดล ตำแหน่ง ประธานหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยา ลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
2) นางสาวนะดา อภิสกุลชาติ ตำแหน่ง กรรมการและประธานคณะกรรมการบริหารด้านการศึกษาหอการค้าไทยฟินแลนด์
3) นางสาวโอติ ซูโอยาเนน ตำแหน่ง กรรมการและประธานด้านการศึกษาหอการค้าไทยฟินแลนด์
4) นายสมนึก วรนิสรากุล ตำแหน่ง ที่ปรึกษา
5) นายปัญญา เบญจศิริวรรณ ตำแหน่ง ที่ปรึกษา
คณะกรรมการการดำเนินงาน จากศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1) ดร.เกศรา อมรวุฒิวร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการ
2) นายนันทวุฒิ พิมพ์แพง ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ด้าน Career Academies
การจัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการฯ ในครั้งนี้ เพื่อจัดสัมมนาทางวิชาการ ด้วยการระดมความคิด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น และข้อสรุปข้อมูลที่ได้ ไปพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ด้านการศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของผู้บริหารสถานศึกษาในเทศบาลนครเชียงใหม่
โดยวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้
ซึ่งมีกิจกรรม ดังนี้
1. การนำเสนอผลงานกลุ่มปฏิบัติการในการจัดกิจกรรม MOA เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เติมเต็ม และข้อเสนอแนะการต่อยอดความสมบูรณ์ของผลงานตามองค์ประกอบของกิจกรรมแห่งนวัตกรรม ในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่
2. (Refection Development) การแลกเปลี่ยน แบ่งปันประสบการณ์ และกรณีศึกษาการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 สู่ความยั่งยืน เพื่อการต่อยอดความสมบูรณ์ของนวัตกรรมของสถานศึกษา
3. สรุปประเด็นเสวนาสรุป : หลักการและปัจจัยต่อยอดแห่งความสำเร็จการเสริมสร้าง MOA สถานศึกษาแห่งนวัตกรรม ในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ ณ ห้องประชุม Convention Room โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท เขียงใหม่ เครดิต สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่